Overview PTE Part 2 : Speaking and Writing

หลังจากเสร็จสิ้น PTE พาร์ทแรกจบ อันประกอบด้วยทั้งการทดสอบทักษะการพูดและทักษะการเขียนซึ่งถือได้ว่าเป็นพาร์ทที่ยาวนานที่สุด แต่การสอบ PTE ของคุณยังไม่จบเท่านั้น คุณยังไม่ได้พักค่ะ ผู้เข้าสอบจะเจอกับพาร์ทต่อไปในทันที ซึ่งนั่นก็คือพาร์ท Reading นั่นเอง ในพาร์ทนี้จะเป็นการวัดทักษะด้านการอ่าน เป็นการวัดระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของคุณอย่างเดียว หมายความว่าจะไม่มีการทดสอบคุณแบบลูกผสมเหมือนในพาร์ท Speaking & Writing ก่อนหน้า ที่ในบาง Tasks คุณจะต้องทั้งฟังทั้งเขียนทั้งและอาจะรวมไปถึงการพูด หวังว่าข้อมูลย่อหน้านี้จะทำให้ผู้เข้าสอบ PTE โล่งใจมากขึ้นว่าในพาร์ท Reading จะไม่เจอการทดสอบภาษาอังกฤษ Academic ที่รวมกันหลายทักษะอย่างในพาร์ทก่อนหน้า

สำหรับการสอบ PTE ในพาร์ท Reading เราได้รวมรวมและสรุปตามตารางด้านล่างโดยอ้างอิงเนื้อหาข้อมูลจาก Practice Tests Plus with key. PTE Academic from the test developers เพื่อให้ผู้ที่จะเตรียมตัวสอบ PTE ทุกท่านได้เห็นภาพรวมทั้งหมดว่าจะต้องเจอข้อสอบในรูปแบบไหนบ้าง เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะทำความคุ้นเคยกับข้อสอบ เพราะอย่างที่ myPTEjourney เคยเกริ่นไปในบทความก่อนๆว่า การสอบ PTE จะเป็นการสอบแบบบูรณาการ เพราะฉะนั้นหากท่านคิดว่าข้อสอบ Reading จะมีแค่อ่านเนื้อเรื่องแล้วเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด หรือจะเป็นเพียงแค่การอ่านเนื้อเรื่องแล้วเลือกบทสรุปจากเรื่องที่อ่าน เราขอบอกเลยว่า ข้อสอบ PTE มันเป็นอะไรที่ล้ำไปกว่านั้นค่ะ สามารถไปดื่มด่ำความลึกล้ำได้ในตารางข้างล่างกันได้เลย

Part 2 :Reading
Reading (ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด 32-41 นาที)
ประเภทข้อสอบ จำนวนข้อ อธิบายรูปแบบการสอบ ทักษะที่ใช้ในการให้คะแนน ระยะเวลา/ความยาวข้อสอบแต่ละข้อ ระยะเวลาที่ให้ในการตอบ
Multiple-choice, choose single answer 2-3 มี Text ให้อ่าน จากนั้นเราต้องเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวจากหลายตัวเลือก (หลายตัวเลือก 1 คำตอบ) การอ่าน 300 คำ/ text
Multiple-choice, choose multiple answers 2-3 มี Text ให้อ่าน จากนั้นเราต้องเลือกคำตอบที่ถูกต้องซึ่งมีมากกว่า 1 ข้อ  (หลายตัวเลือก หลายคำตอบ) การอ่าน 300 คำ/ text
Re-order paragraphs 2-3 จะมีกล่องข้อความสั้นๆที่สุ่มเรียงกันมา เราจะต้องจัดเรียงลำดับของกล่องข้อความให้ถูกต้อง การอ่าน 150 คำ/ text
Fill in the blanks (Reading) 4-5 บนหน้าจอแสดง text ที่มีช่องว่างอยู่หลายช่อง เราต้องลากคำหรือ phrases ที่โจทย์ให้มาใส่ลงในช่องว่างเหล่านั้น การอ่าน 80 คำ/ text
Fill in the blanks (Reading & Writing) 5-6 บนหน้าจอจะมี text ที่มีช่องวางอยู่หลายช่อง เราต้องเลือกคำที่ถูกต้องมาใส่ โดยการ drop down เพื่อเลือกคำตอบ การอ่าน,
การเขียน
300 คำ/ text

หมายเหตุตั้งแต่จากวันที่ 16 พ.ย. 2564 จำนวนข้อสอบแต่ละ Task ในพาร์ท Reading จะลดลง โดย Multiple-choice, choose single answers จะเหลือ 1-2 ข้อ และ Multiple-choice, choose multiple answersเหลือ 1-2 ข้อ เพราะฉะนั้นเวลาทำข้อสอบก็โดยรวมที่ 32-41 นาทีก็จะลดลงด้วยค่ะ โดยจะเหลือแค่ 29-30 นาที สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่>> PTE ทำไมเธอเปลี่ยนไป?

จะเห็นว่าจำนวน Tasks ทั้งหมดในพาร์ท Reading จะน้อยกว่าพาร์ท Speaking & Writing และ Listening พอสมควรเลย และส่วนใหญ่ก็จะวัดทักษะการอ่านของเราว่าเราสามารถจับใจความได้ไหม เราเข้าใจเนื้อเรื่องหรือเปล่า เรามีคลังคำศัพท์ในหัวอยู่มากพอไหม ซึ่งถ้าหากจะว่าไปแล้ว ดูเผินๆมันก็เหมือนการวัดทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป แต่ถ้าถามว่ามันเหมือนกับการสอบ IETLS พาร์ท Reading ไหม? เราคิดว่ามันค่อนข้างคล้ายกันในเรื่องการวัดความเข้าใจการอ่านแต่รูปแบบการทดสอบนั้นต่างกันอยู่พอสมควร

รูปแบบการวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในระดับ Academic ของ PTE จะต่างจาก IELTS เพราะ IELTS จะมีเรื่อง Essay ยาวๆมาให้เราอ่าน แล้วให้เราเลือกคำตอบที่ถูกต้องแบบปรนัย อย่างการเลือก A B C D ,จับคู่ข้อมูลให้เหมาะสมว่าควรจะอยู่ในหัวข้อใด, ใส่คำศัพท์ลงไปให้ถูกต้องเพื่อให้เนื้อเรื่องหรือแผนภูมินั้นสมบูรณ์ หรือตอบว่าจริง/ไม่จริง เป็นต้น

แต่การสอบ Reading ของ IELTS นั้นไม่มีการคะแนนติดลบเหมือนใน PTE

โครงสร้างการสอบพาร์ท Reading ใน IELTS ไม่มีอะไรสลักซับซ้อนมากนักเมื่อเทียบกับการสอบแบบบูรณาการของ PTE ใน IELTS เป็นแบบถาม-ตอบตรงๆไปเลย คะแนนก็ให้ตรงๆไปเลย ถูกก็ได้  1 ผิดก็ไม่ได้คะแนน แต่ของ PTE จะมีความ Tricky กว่า หรือหากจะพูดให้เป็นทางการหน่อยคือมีการผสมรูปแบบการทดสอบในหลากหลายรูปแบบมาก รวมไปถึงการให้คะแนนที่มีการลบคะแนนออกไปหากเราตอบผิด ยกตัวอย่างเช่น ใน PTE มี Task Reading ที่ให้เราเลือกคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า 1 ข้อ หากคำตอบที่เราเลือกนั้นถูก เราจะได้ 1 คะแนนปกติเท่าไป แต่ในกรณีที่เราตอบผิด คะแนนก็จะกลายเป็น –1 ทันที! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อสอบ PTE ไม่ได้ให้คะแนนติดลบเรานะคะ หากเราตอบผิดทั้งหมดเลยก็จะได้ 0 คะแนนค่ะ  (สำหรับรายละเอียด สามารถอ่านได้ในบทความที่ myPTEjourney อธิบายได้ตามแต่ละ Task ได้เลยนะคะ)

ที่อธิบายไปข้างต้นนี่เป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะอย่าง Task Reading อื่นๆใน PTE ยังมีอีกหลายรูปแบบให้เราไปลองเล่นสนุกกัน อย่าง Re-order paragraph จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะคุณต้องเข้าใจ text ที่ให้มาทั้งหมด โดยเรียงลำดับให้ถูกว่าประโยคไหนมาเป็นลำดับที่ 1 2 3 ขนาดเป็นภาษาไทย เราเองยังต้องใช้เวลาคิดเลย แต่นี่เป็นภาษาอังกฤษแบบ Academic ล้วน .หึๆ.

จริงๆแล้ว เรารู้สึกว่ายังมีสิ่งเล็กๆอย่างหนึ่งที่ PTE มีความคล้ายกับ IELTS อยู่ คือตรงที่ Text ในพาร์ทนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของมนุษยศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือวิทยาศาสตร์สังคม(สังคมศาสตร์) อะไรพวกนี้ ซึ่งแน่นอนว่าโดยปกติทั่วไปสำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาหรืออ่านบทความเกี่ยวกับด้านพวกนี้บ่อยๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่อ่านรอบเดียวแล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง (ถึงแม้บทความจะบทความจะมีความยาวของคำอยู่เพียงแค่ 300 คำก็เถอะ) อย่างน้อย ก็เราหนึ่งคนแหละค่ะที่อ่านบทความเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ทีไรก็จะงงๆอยู่ทุกที แต่ทุกคำตอบจะไม่ออกนอกเนื้อหาจาก Text ที่ให้มา เฉกเช่นเดียวกับ IELTS ค่ะ ถึงเราจะไม่ชินกับการอ่านตีความเนื้อหาด้านวิชาการแบบนี้ แต่เราสามารถศึกษารูปแบบข้อสอบได้ เราสามารถฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญได้ เราพยายามทำให้ดีที่สุดกันดีกว่าค่ะ

สำหรับการสอบ PTE พาร์ท Reading หากคุณต้องการจะจดโน้ตอะไรลงไปก็สามารถทำได้เสมอค่ะ เพราะคุณจะได้สมุดโน้ตแบบลบได้กับปากกาเข้าไปตั้งแต่ตอนเข้าห้องสอบ แต่สำหรับ myPTEjourney เราไม่ได้แตะสมุดโน้ตกับปากกาเลยในพาร์ทนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องจดอะไรในขณะที่ทำข้อสอบในส่วนนี้ คือด้วยความที่ Text มันไม่ได้ยาวอะไร ส่วนตัวเราจึงไม่จำเป็นต้องมานั่งวง Keywords เหมือนในข้อสอบ IELTS เพราะเกรงว่าจะหาคำตอบไม่เจอในภายหลัง อีกเหตุผลคือพาร์ท Reading ใน PTE ไม่สามารถหา Keywords อะไรพวกนี้โต้งๆได้เลย กลายเป็นว่าสมุดโน้ตขนาดเทอะทะนี้ถูกวางไว้ไกลมือที่สุดเท่าที่จะทำได้ซะอย่างงั้น

หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เราเจอ คือการบริหารจัดการเวลาสอบในแต่ละข้อของแต่ละ  Task ในพาร์ทนี้ ซึ่งเท่าที่เราลองหาข้อมูลมา ผู้เข้าสอบหลายท่านก็พูดถึงเรื่องการจัดการเวลาสอบให้ดี เนื่องด้วยความที่ข้อสอบในแต่ละพาร์ทของ PTE มีหลาย Task และแต่ละ Task ก็มีมากกว่า 1 ข้อ เพราะอย่างนี้ เราเลยอยากจะให้คุณลองจับเวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อดีๆนะคะ โดยสำหรับพาร์ท Reading ทาง Pearson จะไม่มีเวลาบอกว่าคุณควรจะใช้เวลาเท่าไหร่ในแต่ละข้อ แต่จะให้เวลามาเป็นเวลารวมทั้งหมด โดยเวลาจะแสดงอยู่บนหัวมุมบนด้านขวามือ เร็วๆนี้ myPTEjourney จะมาแบ่งเวลาให้ดูว่าเราใช้ในการทำข้อสอบแต่ละข้อใน Reading อย่างไรกันค่ะ หากผู้อ่านท่านใดมีคำถามข้อสงสัย ก็สามารถเขียนมาคุยกันได้เสมอนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *