Overview PTE Part 1 : Speaking and Writing

หลังจากพูดแนะนำตัวเองกับคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อย(ส่วนนี้เป็นส่วนที่ยังไม่เก็บคะแนน) ถือได้ว่าเราผ่านการวอร์มอัพตัวเองแล้ว ได้กระตุ้นเส้นใยประสาทในสมองให้พร้อมเตรียมตัวเริ่มทำข้อสอบในส่วนแรก นั่นคือ Speaking และ Writing คุณพร้อมแล้วหรือยังกับข้อสอบ Part แรก?

จริงอยู่ที่การสอบ PTE เป็นการนำทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมาประยุกต์ในการออกข้อสอบ แต่ทำไมเขาถึงเอา Speaking กับ Writing มาอยู่ด้วยกันรวมเป็นข้อสอบในส่วนที่ 1 ล่ะ? มันควรจะแยกเป็น Speaking ส่วนที่ 1 และ Writing เป็นส่วนที่ 2 หรือกลับกันก็ได้… 

ตามหลักการสอบทั่วไปมันก็ควรจะแยกกันให้ชัดเจนเลยจริงๆน่ะแหล่ะ และไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่สอบ Speaking ให้เสร็จไปก่อน จากนั้นพักหายใจหายคอซัก 10 นาทีแล้วค่อยมานั่งเขียนมือหงิกกันใหม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าที่ทาง PTE นำมารวมกันให้เป็นส่วนเดียวกันไปเลยเพราะส่วนที่เป็น Writing มีเพียงแค่ 2 tasks เองล่ะมั้ง อีกทั้งในส่วนของ Speaking เองก็ต้องมีการจดโน้ตในบาง tasks เช่นกัน ถือว่าทั้ง 2พาร์ทนี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ Speaking กับ Writing มาอยู่ในพาร์ทเดียวกันเช่นนี้

จากที่ตัวเองเคยผ่านข้อสอบ IELTS มา 2 ครั้ง ทั้งสอบแบบ paper-based และ computer-based ทำให้ทราบว่าพาร์ท Speaking เป็นส่วนที่หลายคนกังวลมาก พอๆกับพาร์ท Writing เลย พอมาเจอข้อสอบ PTE คงได้แต่ร้องว่า ‘โอ้…โหดสุดPTE!’ ที่มาหลอกหลอนเราในเวลาเดียวกัน จะขอเวลาไปพักหายใจหายคอไปทำใจหน่อยก็มิได้แต่ดันเอามารวมกันติดกันเลย

ส่วนที่น่าจะทำให้หลายคนใจชื้นหน่อยก็คงเป็นที่เราพูดกับคอมพิวเตอร์ จะได้ไม่ต้องโดนกดดันจาก Examiner ที่ตั้งใจฟังคำตอบของเราโดยการจ้องมองเข้าไปในลูกตาที่เปรียบเสมือนหัวใจดวงน้อยๆที่กำลังเต้นโครมครามอยู่ในทรวง เพิ่มเติมคือหากเกิดผู้คุมสอบอารมณ์ไม่ค่อยดี คำตอบของผู้เข้าสอบแต่ละคนที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจแก่ผู้คุมสอบเท่าไหร่ ตรงนี้ก็ทำให้เราคิดไปไกลว่าตัวแปรพวกนี้จะมีผลกับคะแนนของฉันไหม? 

ถึงแม้การสอบ Writing ใน IELTS จะมีเกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจนเหมือน Speaking โดย Examiner ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่หากเขาตรวจ Essays จำนวนเยอะๆในแต่ละวัน แล้วมาเจอคนเขียนไม่รู้เรื่อง ลายมือยึกยืออ่านไม่ออก แกรมม่ากระโดดไปมา เขาจะปวดหัวไหม? พวกเขาจะหงุดหงิดตอนตรวจข้อสอบไหม? คำว่าเสถียรภาพ,ประสิทธิภาพ และความมั่นคงในมนุษย์ไม่ได้ตรงแด่วเป็นกราฟเส้นตรง 100% อยู่ตลอดเวลา

นี่จึงเป็นข้อหนึ่งที่ PTE เคลมว่าการสอบของเขาเป็นการสอบที่ไม่มี Bias (อคติ) เพราะใช้ AI เป็นตัวตัดสินคะแนนสอบทั้งหมด ปราศจาก Bias เข้ามาเกี่ยวข้อง 

แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง การได้สอบพูดกับคนเป็นๆมันก็มีข้อดีอยู่มากเช่นกัน ที่บางครั้งหากเราไม่แน่ใจคำถามเราก็ขอให้เค้าพูดซ้ำอีกรอบหนึ่ง หรือบางทีเขาก็จะพยายามถามคำถามที่มีการบรรยายเพิ่มเติมเพื่อให้เราเห็นภาพมากขึ้น แต่คุณทำแบบนี้กับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะมันใช้ Algorithm ในการตัดสินใจ ไม่ใช่ ‘หัวใจ’ 

เอาหล่ะ หลังจากเกริ่นเรื่องข้อสงสัยทำไมทาง Pearson ถึงจัด Speaking และ Writing มาอยู่ด้วยกัน และข้อดีข้อเสียการสอบ Speaking & Writing กับคอมพิวเตอร์ไปในหัวข้อด้านบนไปแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าการสอบในส่วนที่ 1 Speaking & Writing ของ PTE มี tasks ย่อยอะไรบ้าง มีจำนวนข้อในแต่ละส่วนเท่าไหร่ และต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง เราได้ทำการสรุปเป็นตารางตามด้านล่างนี้

Part 1 : Speaking and Writing
Part 1.1 Speaking (ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด 30-35นาที)
ประเภทข้อสอบ จำนวนข้อ อธิบายรูปแบบการสอบ ทักษะที่ใช้ในการให้คะแนน ระยะเวลา/ความยาวข้อสอบแต่ละข้อ ระยะเวลาที่ให้ในการตอบ
Read aloud 6-7 มีข้อความบนจอ เราต้องอ่านออกเสียงใส่ไมโครโฟน การอ่าน,
การพูด
ไม่เกิน 60 คำ ขึ้นอยู่กับว่าข้อความที่เราต้องอ่านยาวแค่ไหน
Repeat sentence 10-12 หลังได้ยินประโยค 1 ประโยค ให้เราพูดให้เหมือนกับประโยคที่เราได้ยิน การฟัง,
การพูด
3-9 วินาที 15 วินาที
Describe image 6-7 มีรูปปรากฏบนหน้าจอ ให้เราพูดบรรยายสิ่งที่เราเห็นใส่ไมโครโฟน การพูด 40 วินาที
Re-tell lecture 3-4 จะมี lecture ให้เราฟังหรือเป็น VDO ให้ดู จากนั้นเราต้องพูดสิ่งที่เราฟังให้เป็นคำพูดของเราเอง การฟัง,
การพูด
ไม่เกิน 90 วินาที 40 วินาที
Answer short question 10-12 หลังฟังคำถามเสร็จ ให้เราตอบคำถามสั้นๆ การฟัง,
การพูด
3-9 วินาที 10 วินาที
Part 1.2 Writing (ระยะเวลาที่ให้ทั้งหมด 50-60 นาที)
ประเภทข้อสอบ จำนวนข้อ อธิบายรูปแบบการสอบ ทักษะที่ใช้ในการให้คะแนน ระยะเวลา/ความยาวข้อสอบแต่ละข้อ ระยะเวลาที่ให้ในการตอบ
Summarize written text 2-3 มี passage ให้เราอ่าน แล้วเราทำการสรุปเนื้อหาโดยการเขียน 1 ประโยค การอ่าน,
การเขียน
ไม่เกิน 300 คำ 10 นาที
Write essay 1-2 เขียน essay 200-300 คำจากหัวข้อที่กำหนดให้ การเขียน หัวข้อที่ให้ไม่เกิน 4 ประโยค 20 นาที

หมายเหตุ : ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2564 จำนวนข้อสอบในพาร์ท Speaking & Writing จะลดลง โดย Describe image จะเหลือ 3-4 ข้อ, Retell lecture เหลือ 1-2 ข้อ, Answer short question เหลือ 5-6 ข้อ, Summarize written text เหลือ 1-2 ข้อ เพราะฉะนั้นเวลาทำข้อสอบโดยรวมใน Part  Speaking & Writing ทั้งหมดก็จะลดลงด้วยค่ะ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ >> PTE ทำไมเธอเปลี่ยนไป?

ตารางเห็นด้านบนนี้เราสรุปมากจากหนังสือ Practice Tests Plus with key. PTE Academic from test developers ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละข้อนั้นมาจากความเข้าใจและประสบการณ์ในการสอบส่วนหนึ่งของตนเองเข้าไปด้วย ก็เลยพยายามสรุปให้คนที่อาจจะยังไม่เข้าใจได้เห็นภาพง่ายมากขึ้นว่าในแต่ละด่านประกอบไปด้วยด่านย่อยๆอะไรบ้าง โดยเฉพาะเวลาในการให้ทำข้อสอบในแต่ละ task นั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หลายคนพลาดเพราะทำไม่ทันเวลา ด้วยเพราะแต่ละ task ก็มีข้อย่อยอยู่หลายข้อทำให้เราลืมเรื่องเวลาไปเสียสนิท 

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอ!

  • คุณจะได้ยินข้อสอบแต่ละข้อเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ไม่มีปุ่มใดๆให้กดฟังซ้ำอีกรอบ อ้อนวอนกรรมการคุมสอบก็ไม่ได้
  • ดูเวลาบนหัวมุมหน้าจอให้ดีว่าเราควรต้องใช้เวลาในแต่ละข้อเท่าไหร่ ซึ่งในพาร์ท Speaking จะให้เวลามาโดยรวม หากดูแค่ผิวเผินเหมือนเวลาจะเยอะ ทำได้สบายๆ แต่พอถึงตอนสอบจริงๆ เวลาจะกระชั้นชิดมาก เมื่อเทียบเวลาโดยรวมทั้งหมดหารโดยจำนวนข้อสอบทุกข้อ ทำให้เราพบว่าเวลาในการทำข้อสอบ PTE ถูกกำหนดมาอย่างเป๊ะๆสำหรับแต่ละข้อไว้แล้ว เพราะฉะนั้นคุณจะต้องบริหารจัดการข้อสอบในแต่ละ Task เอง (ยกเว้นบาง Tasks ที่เราต้องพูดใส่ไมค์และมีเวลา record ให้ตามกำหนดอยู่แล้ว)
  • ส่วน Writing จะมีเวลากำหนดแยกมาให้แต่ละข้อสำหรับแต่ละ task อยู่แล้ว

เป็นไงอย่างไรบ้างคะ? ในบทความนี้ป็น Overview แรกในการทำข้อสอบ คุณจะเห็นว่าถึงแม้ว่าจะเป็น Speaking ก็ตาม แต่ทักษะที่ใช้ในแต่ละ Task จะเป็นการผสมผสาน เช่น การอ่าน+การพูด หรือการฟัง+การพูด ถึงกระนั้นก็ตาม บาง Task อย่างเช่น Re-tell lecture เราควรจะต้องจดโน๊ตใจความสำคัญหรือ keywords หลักๆจากเรื่องที่ได้ยิน นั่นหมายความว่าในหนึ่ง Task นั้นบางครั้งอาจใช้ถึง 3 ทักษะเลยเสียด้วยซ้ำ

ไม่อยากให้ทุกท่านคิดว่าการสอบ PTE Academic เป็นสิ่งที่ยากเกินความสามารถของเรานะคะ ถึงข้อสอบ PTE จะพลิกไปมาอย่างไร แต่หากเราเตรียมตัวเสริมทัพของเราให้พร้อม myPTEjourney มั่นใจว่าทุกคนสามารถเอาชนะข้อสอบ PTE ได้แน่นอน ขอแค่คุณเตรียมตัวให้พร้อม ทำความเข้าใจกับข้อสอบให้เยอะเท่าที่จะทำได้ค่ะ เราจะมาสู้ไปด้วยกันค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *