งานนี้วัดทักษะการอ่านล้วนๆ ซึ่งต่างจาก Fill in the blanks (Listening) วิธีการในการทำไม่ยุ่งยากยาก แต่การเลือกคำตอบที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องกว่า ถามว่ามันยากไหม มันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่เรามองว่ามันค่อนข้างที่จะสร้าง ‘ความไม่แน่ใจ’ หรือ ‘ความสับสน’ ให้กับผู้เข้าสอบ PTE Academic ได้เป็นอย่างดีสำหรับ Fill in the blanks (Reading) นี้ หากคุณมีคลังคำศัพท์ในหัวมากพอ หรืออ่านบทความภาษาอังกฤษมาพอตัว ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงค่ะ
Fill in the blanks (Reading) คืออะไร?
เป็น Task ที่อยู่ใน PTE Academic พาร์ท Reading ที่วัดทักษะการอ่านผู้เข้าสอบ เมื่อคุณทำข้อสอบมาจนถึง Task นี้ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์จะปรากฏ Text ให้อ่าน แต่ตัว Text นั้นจะมีช่องว่างเพื่อให้ผู้เข้าสอบเลือกคำตอบที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอไปใส่ในช่องว่างเหล่านั้น โดยใช้เม้าส์ลากคำตอบจากด้านล่างไปใส่ในช่องว่างที่ปรากฏอยู่ใน Text …ง่ายๆ แค่นี้เอง
Fill in the blanks ในพาร์ท Reading มีการให้คะแนนที่ตรงตัว หากคุณใส่คำตอบที่ถูกลงไปในช่องว่าง คุณได้ 1 คะแนน หากผิด ได้ 0 คะแนน
จำนวนข้อ ของ Fill in the blanks (Reading) มีประมาณ 4-5 ข้อ
หมายเหตุ : หลังจากวันที่ 16 พ.ย. 2564 เป็นต้นไป จำนวนข้อในข้อสอบของ PTE Academic จะมีการลดจำนวนข้อลง แต่สำหรับ Fill in the blanks (Reading) จะมี 4-5 ข้อเท่าเดิมค่ะ
แต่ละส่วนที่ปรากฏบนหน้าจอใน Fill in the blanks (Reading) คืออะไร?
1) Instruction
คือคำแนะนำว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับข้อสอบที่เราเห็นบนหน้าจอในขณะนี้ โดยข้อสอบทุก Task ใน PTE Academic จะบอกไว้อย่างชัดเจนในทุกๆข้อ เพื่อให้ผู้เข้าสอบเข้าใจอย่างง่ายที่สุด ในเวลาที่สั้นที่สุดว่าต้องทำอย่างไร
In the text below some words are missing. Drag words from the box below to the appropriate place in the text. To undo an answer choice, drag the word back to the box below the text.
คำบางคำในบทความด้านล่างนี้หายไป. ให้คุณลากคำจากกล่องด้านล่างมาใส่บทความให้เหมาะสม. หากจะยกเลิกคำตอบ, ให้คุณลากคำนั้นกลับมาใส่ในกล่องด้านล่างบทความ
2)Text with missing words บทความกับคำที่หายไป
แหน่ะ. ตั้งชื่อเหมือนชื่อหนังสือแนวสืบสวนสอบสวนยังไงอย่างนั้น
เมื่อผู้เข้าสอบต้องมาเจอกับ Fill in the blanks (Reading) ใน PTE Academic คุณจะเห็น Text ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ แต่จะเป็น Text ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีคำบางคำที่หายไปโดยเว้นเป็นช่องว่างไว้ เพราะฉะนั้นคุณจะต้องหาคำตอบที่จะมาเติมเต็มบทความที่คุณเห็นอยู่นี้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์แบบ
3) กล่องคำตอบ
ในกล่องด้านล่าง Text จะเป็นกล่องที่มีคำศัพท์ให้ผู้เข้าสอบได้เลือกว่าคำไหนที่จะทำให้ประโยคแต่ละส่วนในบทความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าในกล่องคำตอบนี้มักจะมีคำมาให้เราสับสน เพราะมีตัวเลือกเยอะกว่าช่องว่างใน Text ด้านบน ไม่เคยมีครั้งใดที่ข้อสอบใน Task นี้จะให้ตัวเลือกมาพอดีกับช่องว่างใน Text ค่ะ ไม่อย่างนั้นก็คงง่ายเกินไป 🙂
อย่าใช้เวลานานเกินไป!
สั้นๆง่ายๆแค่นี้เลย เพราะด้วยความที่ Fill in the blanks (Reading) ของ PTE Academic มีตัวเลือกมาให้เยอะกว่าช่องว่างที่โจทย์ให้มา และถ้าหากคำศัพท์ที่คุณมีติดตัวไม่เยอะพอ สิ่งที่ตามมาก็คือความไม่มั่นใจว่า เอ…ตรงนี้ควรจะเป็นคำนี้หรือเปล่านะ? เอ้ย! ไม่ใช่สิ่ ใส่คำนี้ลงไปแล้วอ่านดูลื่นกว่า คือมันจะความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้น และพอเราสับสน กังวล มัวแต่นั่งคิดจนลืมไปเลยว่า ใน PTE Academic เวลาในพาร์ท Reading จะเป็นแบบให้รวมมาทั้งหมด ฉะนั้นเราอยากให้ผู้เข้าสอบ PTE Academic ทุกท่านกะเวลาทำในแต่ละ Task ให้ดีเลยนะคะ เรื่องการบริหารเวลาในการสอบ PTE Academic เป็นเรื่องที่เราเน้นย้ำเสมอ ไม่งั้นพังค่ะ300
สำหรับ Fill in the blanks (Reading) เราแนะนำให้ผู้เข้าสอบใช้เวลา 2 นาที/ข้อ เท่านั้น
ต่ส่วนตัวเราเชื่อว่าใน Task นี้ ผู้เข้าสอบหลายคนจะสามารถทำเสร็จได้เร็วกว่า 2 นาทีได้อย่างแน่นอนค่ะ
★ ใช้ประโยชน์จาก Grammar เข้าช่วย อยากจะบอกทุกคนว่า การสังเกต Grammar ของประโยคนั้น และคำแวดล้อมรอบๆช่องว่างสามารถช่วยคุณได้เยอะเลยทีเดียว บางที myPTEjourney ก็ไม่แน่ใจหรอกค่ะว่าข้อนี้น่าจะเป็นคำไหน แต่ Grammar ตรงส่วนนั้นสามารถทำให้เราร้อง อ๋อ! ได้ เช่น I have ____ in Thailand since 1991. แน่นอนว่าในช่องว่าควรจะเป็น verb ช่อง 3 เท่านี้คุณก็สามารถตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ verb ช่อง 3 ออกไปได้
★ ทำให้ครบทุกข้อ เนื่องจากว่าเกณฑ์การให้คะแนนใน Fill in the blanks (Reading) ของ PTE Academic เป็นอะไรที่ตรงตัวมากๆ หากเราทำถูก ก็จะได้ 1 คะแนน หากผิดก็เป็น 0 ทีนี้อยากให้ทุกคนลองจินตนาการตามดูว่า หากคุณไม่ตอบอะไรเลยในช่องว่างนั้น สิ่งที่คุณจะได้มาคือ 0 แน่ๆ แต่หากคุณลองเดา ลองใส่คำศัพท์ตัวนี้ลงไป ใครจะไปรู้ล่ะคะ ว่าสิ่งที่คุณเดาน่ะ มันอาจจะถูกก็ได้ ดีกว่าเสียคะแนนไปฟรีๆ
★ ตรวจสอบก่อนกด Next ทุกๆ Task ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทไหนก็ตามใน PTE Academic เราจะขอให้ทุกคนตรวจสอบคำตอบทุกครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจกดปุ่ม Next เพราะ Next แล้ว Next เลยนะจ้ะ ผู้เข้าสอบไม่สามารถย้อนกลับมาทำ ย้อนกลับมาแก้ หรือแม้แต่ย้อนกลับมาดูข้อที่กด Next ไปแล้วได้อีก เพราะอย่างนี้จึงอยากให้ทุกคนลองอ่านบทความดูอีกที มีตรงไหนที่ต้องแก้ หรือเราเผลอลากคำศัพท์มาใส่ผิดที่หรือเปล่า บางที การที่เราได้อ่านบทความทั้งหมดอีกครั้ง เราอาจจะเห็นอะไรบางอย่างก็ได้
★ ดูเวลาให้ดี! ข้อนี้ต้องมาพร้อมด้วยเครื่องหมายตกใจ .ฮา. เน้นย้ำทุกครั้ง ว่าการจัดการเวลาใน PTE Academic สำคัญมาก โดยเฉพาะกับพาร์ท Reading ที่เป็นการให้เวลาแบบรวมมา ผู้เข้าสอบต้องนับเวลาเองว่าเราใช้เวลาต่อข้อต่อ Task ไปมากเท่าไหร่แล้ว ไม่งั้นพังทั้งพาร์ทเลยค่ะ
สิ่งต้องห้ามใน Fill in the blanks (Reading) หากอยากได้คะแนนดี
ในส่วนของสิ่งที่ห้ามทำ ก็จะไปล้อกับเคล็ด (ไม่) ลับในการทำข้อสอบ Task นี้ค่ะ สิ่งที่ห้ามทำเลย ซึ่งสำคัญมากๆคือ 👎ไม่สนใจดูเวลา ซึ่งเวลารวมที่ให้มาจะอยู่ตรงมุมจอขวามือบน เขียนว่า Remaining time ตรงนี้ผู้เข้าสอบ PTE Academic ต้องดูเวลาเองว่าข้อนี้เราใช้เวลาไปเท่าไหร่แล้ว สำหรับ Fill in the blanks (Reading) เราอยากแนะนำให้ผู้เข้าสอบใช้เวลาที่ 2 นาที/ข้อ เท่านั้น
อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรทำเลยคือ 👎ไม่เช็คคำตอบก่อนกด Next ถึงแม้ว่า Task นี้จะไม่ซับซ้อนอะไร จะง่ายแค่ไหนก็ตาม เราอยากให้คุณเช็คก่อนกด Next เสมอ โดยเฉพาะกับ Fill in the blanks (Reading) เพราะช่วงเวลาที่เราได้อ่านทั้งบทความ เราจะรู้สึกได้ถึงความไหลลื่นค่ะ เราอาจจะเห็นอะไรที่มันแปลกๆไม่เข้าพวกตอนคุณตรวจคำตอบอีกครั้งก็ได้
Fill in the blanks (Reading) เป็นหนึ่งใน Task ของ PTE Academic ที่ซิมเปิ้ลมั่กๆ แบบบางทีไม่ต้องอ่านโจทย์ว่าเป็น Task อะไร เราเห็นแล้วเรายังรู้เลยว่าต้องทำอย่างไร (แต่ไม่แนะนำนะคะ ยังไงเราก็ต้องอ่านโจทย์ทุกครั้งเพื่อกันความผิดพลาด ตรงนี้เราแค่จะเปรียบเทียบให้ดูเฉยๆว่า Task นี้ไม่ยากเลย) แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องระวัง และวิธีการทำต่างจาก Fill in the blanks (Listening)
VDO ด้านล่างจะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่า Fill in the blanks (Reading) เป็นอย่างไรค่ะ ดูแป๊ปเดียวก็ทำได้เลย ^^