Fill in the blanks (Listening) ได้ยินอะไรก็เติมลงไปอย่างนั้น

Fill in the blanks

เราชอบ Fill in the blanks (Listening) ใน PTE Academic นะ เรารู้สึกว่ามันตรงไปตรงมาดี ไม่มีอะไรอ้อมค้อม ใจความหลักของ Task นี้อยู่ที่เพียงแค่ว่าคุณตั้งใจฟัง Audio เพื่อที่จะเอาคำที่ได้ยินไปพิมพ์ลงในช่องโหว่ของทรานสริปต์ ง่ายๆเท่านี้เองค่ะ ส่วนที่จะยากก็เป็นเพียงแค่ Audio ที่ได้ยินนั้นอัดมาจากสถานที่จริง เสียงจึงไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ บวกกับสำเนียงการพูดที่หลากหลายมากๆ ซึ่งสำหรับ myPTEjourney แล้ว เรามองว่ามันไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถของทุกคนเลยค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า Fill in the blanks ในพาร์ท Listening นี้มีตรงไหนบ้างที่ต่างจาก  Fill in the blanks (Reading)


Fill in the blanks (Listening) ใน PTE Academic คืออะไร?

Fill in the blanks เป็น Task ในพาร์ท Listening ของ PTE Academic ที่จะวัดทักษะการฟังของเรา โดยบนหน้าจอจะปรากฏ Audio Status Box และทรานสคริปต์พร้อมช่องโหว่หลายๆช่องมาให้ เมื่อโจทย์เริ่ม ผู้เข้าสอบจะได้ยิน Recording ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่เนื้อหาจะหยิบมาจากงานประชุมทางวิชาการ หรืองานสัมมนา ให้ผู้เข้าสอบตั้งใจฟังพร้อมกับไล่ดูทรานสริปต์ไปด้วย เมื่อได้ยินคำที่หายไปจากทรานสริปต์ ให้ผู้เข้าสอบพิมพ์คำนั้นๆลงไปในช่องว่าง

Fill in the blanks ในพาร์ท Listening จะวัดทักษะการฟัง และทักษะการเขียนของผู้เข้าสอบ PTE Academic ซึ่งทักษะการฟังก็มาจากส่วนที่คุณสามารถจับคำที่หายไปจากทรานสคริปต์ได้ ส่วนทักษะการเขียนก็วัดจากที่คุณพิมพ์ลงไปในช่องว่างได้ถูกต้องหรือเปล่านั่นเองค่ะ

หมายเหตุ : จำนวน Task ของ Fill in the blanks (Listening) มีประมาณ 2-3 ข้อ โดยหลังจากวันที่ 16 พ.ย. 2564 เป็นต้นไปจำนวนข้อสอบหลายๆ Task ใน PTE Academic มีการลดจำนวนลง แต่สำหรับ Fill in the blanks (Listening) จำนวนข้อยังคงเท่าเดิมค่ะ


แต่ละส่วนที่ปรากฏบนหน้าจอใน Fill in the blanks (Listening) คืออะไร?

หน้าจอที่ปรากฏในส่วนของ Fill in the blanks (รูปจาก Pearson PTE Academic Tutorial )

1) Instruction
คือคำแนะนำว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับข้อสอบที่เราเห็นบนหน้าจอในขณะนี้ โดยข้อสอบทุก Task ใน PTE Academic จะมี Instruction บอกไว้อย่างชัดเจนในทุกๆข้อ เพื่อให้ผู้เข้าสอบเข้าใจอย่างง่ายที่สุด ในเวลาที่สั้นที่สุดว่าต้องทำอย่างไร
You will hear a recording. Type the missing words in each blank.
คุณจะได้ยิน Recording. พิมพ์คำที่หายลงไปในแต่ละช่องว่าง.

2) Audio Status Box and volume control
สำหรับพาร์ท Listening จะมีกล่อง Audio ซึ่งไม่ใช่กล่อง Recording เหมือนในพาร์ท Speaking อย่าสับสนกันนะคะ เจ้ากล่องนี้จะแสดงสถานะเวลาที่นับถอยหลัง โดยเวลาใน Fill in the blanks (Listening) จะเริ่มนับจากวินาทีที่ 7 และจะลดลงเรื่อยๆ จนเมื่อถึงวินาทีที่ 0 ผู้เข้าสอบจะได้ยิน Recording  นอกจากนี้ผู้เข้าสอบยังสามารถปรับระดับความดังของ Recording ได้ โดยเลื่อนเจ้าสิ่งที่คล้ายๆกับแท่งดินสอไปทางซ้ายเพื่อลดเสียง ไปทางขวาเพื่อเพิ่มเสียงค่ะ (หรือจะเลือกปรับจากที่หูฟังก็ได้เช่นกัน)

หน้าจอแสดงสถานะ Audio Status Box and volume control

3) Transcript (ทรานสคริปต์) ของ Recording พร้อมช่องว่าง
พูดง่ายๆคือมันเป็นบทพูดของ Recording ค่ะ ทุกคำพูดที่อยู่ใน Recording ที่ถูกถอดออกมาเป็นตัวอักษร แต่สำหรับ Fill in the blanks (Listening) ใน PTE Academic จะมีช่องว่างมาให้ เพื่อให้ผู้เข้าสอบเติมคำที่หายไปโดยการพิมพ์ลงไปในช่องว่างนั้นค่ะ

4) ช่องว่างในทรานสคริปต์
อย่างที่กล่าวไว้ในข้อที่ 3 ด้านบน ทรานสริปต์จะมีช่องว่างมาให้ เพื่อให้ผู้เข้าสอบพิมพ์คำที่ได้ยินลงไปเพื่อเป็นคำตอบ



Fill in the blanks (Listening) ใน PTE journey ดูราวกับจะเป็น Task ง่ายๆ ไม่มีอะไรโลดโผน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีจุดที่ผู้เข้าสอบทุกคนควรต้องระวังอยู่บ้าง

  1. โอกาสในการฟัง Recording มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ถ้าฟังไม่ทันคือไม่ทันค่ะ คุณต้องก้าวข้ามไปที่ส่วนต่อไปเลย สำหรับ Fill in the blanks (Listening) คุณจะไม่มีเวลาแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียวที่จะมาพะวงนึกกว่าคำเมื่อกี้คือคำว่าอะไรน้า? …. เขียนยังไงหว่า? เพราะ Recording ไม่รอคุณนะคะ เขาก็พูดไปเรื่อยๆ หากคุณมัวแต่ไปคิดถึงคำตอบที่ทำไม่ได้ในช่วงที่ Recording กำลังเล่น นั่นหมายความว่าคุณก็พลาดคำตอบข้ออื่นๆไปเช่นกันค่ะ
  2. ฟังให้ดี-ฟังให้ไว-ฟังให้ทัน สติต้องมา ปัญญาต้องเกิดค่ะ ตรงนี้สำคัญมากจริงๆ เน้นอีกรอบว่า ก่อนที่คุณจะได้ยิน Recording คุณมีเวลาทั้งหมด 7 วินาทีที่จะรวมรวมสติไว้ทำอะไรก็ตาม บางคนอาจจะ Skim ทรานสริปต์เพื่อดูว่าเป็นเรื่องอะไรคร่าวๆ หรือบางคนอาจจะใช้เวลาตรงนี้รวมรวบสมาธิเพื่อเตรียมพร้อมก็ย่อมได้ แต่ส่วนที่สำคัญคือ ‘สติ.อย่า.หลุด’ ค่ะ เพราะหลุดแล้วหลุดเลย มันจะเป็นเรื่องยากมากหากคุณละสายตาแล้วต้องมานั่งหาว่า Recording กำลังพูดถึงตรงไหน ฉะนั้นสายตาคุณจะต้องจับจ้องไปที่คำแต่ละคำในทรานสริปต์เลย
  3. เวลาที่ให้ในการทำข้อสอบพาร์ท Listening เป็นเวลารวมทั้งหมด (ยกเว้น Summarize spoken text ที่เวลาให้แยกมาข้อละ 10 นาที) หากผู้เข้าสอบบริหารจัดการเวลาไม่เป็นล่ะก็ งานเข้าแน่นอนค่ะ มันแย่ถึงขนาดว่าคุณอาจจะไม่ทันฟัง Recording ของ Task สุดท้ายไม่ทันเลยก็ได้ อันนี้เราไม่ได้ขู่นะ คือเจอมาแล้วกับตัว แบบว่าหน้าจอตัดพรึ่บ! เลย เพราะฉะนั้นลองพิจารณาดูเลยค่ะว่าเราจะพิมพ์ทันทีที่ได้ยิน หรือจะจดไว้ก่อนแล้วค่อยพิมพ์ใส่ทีหลัง
  4. พิมพ์ผิดพิมพ์ถูก ดูให้ดีๆ ข้อนี้สำคัญมากเลยนะคะ เนื่องจากใน Fill in the blanks (Listening) จะเป็นการให้คะแนนตรงๆเลย พิมพ์ถูกต้องครบถ้วนเหมือนใน Recording ให้ 1 พิมพ์ผิดไม่เหมือนที่ Recording พูด ก็ไม่ได้คะแนน การพิมพ์กับการเขียนไม่เหมือนกัน สังเกตไหมคะว่าปกติเราเขียนไม่ค่อยผิด ถึงแม้จะรีบแค่ไหนก็ตาม แต่สำหรับการพิมพ์ เรามักจะพิมพ์ผิดอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ฉะนั้นแล้ว ก่อนที่จะกด Next ไปข้อถัดไป myPTEjourney อยากให้ผู้เข้าสอบเช็คคำตอบกันอีกทีค่ะ

★ กวาดสายตาอ่านทรานสริปต์คร่าวๆก่อน Recording จะเริ่ม ตรงนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนเลยนะคะ แต่สำหรับ myPTEjourney เราชอบแวบไปดูเนื้อหาก่อนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร บางทีก็มีแวบๆเห็นว่าคำในช่องนี้ต้องเป็น Verb ชัวร์ ตรงนั้นคงจะเป็น Noun แบบนี้ แต่ก็ต้องบอกว่าบางทีเราก็ดูไม่ทันหรอกค่ะ บางครั้งช่วง 7 วินาทีก่อน Recording จะเริ่ม เราก็นั่งจ้องคำแรกของทรานสริปต์เอาไว้เลยก็มี เพราะกลัวหลุดสายตา .ฮา.

★ ตาจ้องจอคอมพิวเตอร์ ห้ามคลาดสายตา คืออยากจะบอกเลยว่าถ้าหลุดสายตาไปแม้แต่นิดเดียว ก้มลงไปเขียนปุ๊ป เงยหน้ามาอีกแบบว่า เอะ…อ้าว…ตอนนี้อยู่ตรงไหนแล้วหล่ะ พยายามอย่าหลุดโฟกัสตรงนี้นะคะ

★ จดคำที่ได้ยินลงในกระดาษทด อันนี้เป็นเรื่องของเทคนิคของแต่ละคนเช่นกันค่ะ คือเราพิมพ์สัมผัสไม่คล่อง พิมพ์ผิดพิมพ์ถูกบ้างถ้าหากไม่มองแป้นเลย เราไม่อยากสร้างความกังวลอีกระดับ เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกที่จะจดลงกระดาษทดก่อน ข้อดีคือมือก็เขียนไปเรื่อยๆค่ะ แต่ตายังจ้องทรานสริปต์อยู่นะ ทว่าข้อเสียก็มีอยู่เช่นกันคือ เสียเวลามานั่งพิมพ์! แต่ด้วยความที่เราสอบมาทั้งหมด 4 รอบ เราจึงรู้ว่าต้องทำยังไงต่อถึงจะไม่กินเวลาในการพิมพ์ตามหลัง (ส่วนตัวเราพิมพ์เสร็จ ตรวจทานว่าพิมพ์ผิดหรือถูก แล้วก็กด Next เลย) เอาไว้บทความหน้าเราจะมาวิเคราะห์กันค่ะว่าแบบไหนดีกว่ากัน

★ เติมคำลงไปให้ครบทุกข้อ อันนี้เราทำค่ะ คือโดยส่วนตัวเราเป็นคนไม่ชอบปล่อยให้คำตอบว่าง ถึงแม้เราจะทำข้อนั้นไม่ได้ก็ตาม .ฮา. แต่ใครจะไปรู้หล่ะ ไอที่ได้ยินคุ้นๆว่ามันใช่หรือเปล่า มันอาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องก็ได้นะ แต่ถ้าหากคุณไม่ใส่คำตอบลงไป โอกาสที่จะถูกในข้อนั้นก็เท่ากับ 0 หรือหากฟังไม่ทันจริงๆ เราก็เดาจาก Context ของประโยคแถวๆนั้นแทนค่ะ

★ ตรวจทานคำตอบก่อนกด Next หากผู้อ่านคนไหนได้อ่านการทำข้อสอบ PTE Academic แล้วมีการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เรามักจะเน้นเรื่องการตรวจทานคำตอบอยู่ทุกครั้ง! เพราะบางที่เราพิมพ์ผิดบ้าง สะกดผิด ใส่ s/es หรือเป็น ed หรืออะไรก็ตามแต่ โอกาสผิดมันเกิดขึ้นได้ การตรวจคำตอบอีกครั้งจึงเป็นเรื่องจำเป็นนะคะ


แต่ละสิ่งต้องห้ามใน Fill in the blanks (Listening) หากอยากได้คะแนนดี

👎 สติหลุด สติหาย อันนี้คือไม่ได้เลย อย่าง Task ในพาร์ท Listening อื่นๆที่มี Recording ยาวๆเรายังพอมาจับใจความทีหลังได้ แต่ใน Fill in the blanks (Listening) สติหายก็เท่ากับว่าคะแนนบางส่วนในข้อนั้นๆก็น่าจะหายไปด้วย ในพาร์ท Listening คือฟังแล้วฟังเลย ไม่สามารถย้อนกลับมาฟังอีกกรอบได้

👎 ใช้เวลานานเกินไป ซึ่งความจริงแล้วในพาร์ท Listening ไม่มีอะไรให้ต้องใช้เวลานานเกินกว่าความจำเป็นเลย เนื่องคุณมีโอกาสได้ยิน Recording แค่ 1 ครั้งเท่านั้น ผ่านแล้วก็ผ่านเลย แต่เข้าใจว่าใน Task นี้มันยังพอสามารถเดาคำศัพท์ที่เราพลาดไปได้ โดยการเดา Context ของประโยคแวดล้อม แต่ๆๆอย่าลืมนะคะว่า เวลาที่ให้ในพาร์ท Listening เป็นการให้เวลารวมทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึง Task นี้ด้วย เพราะฉะนั้นขอให้ผู้เข้าสอบบริหารจัดการเวลากันให้ดีๆนะคะ

👎 ไม่ทวนคำตอบ บอกเลยว่าพลาดมาก หากคุณไม่ทวนคำตอบ อย่างที่เราบอกไปในข้อความบนๆว่าบางครั้งเราอาจมีจุดพลาดเล็กๆน้อยๆ เช่น พิมพ์ผิด หรือลืมเติม –s อะไรแบบนี้ ซึ่งมันเป็นอะไรที่น่าเสียดายมากๆๆๆ จึงอยากแนะนำให้ทุกคนตรวจคำตอบกันอีกสักรอบ แบบเร็วๆก็ได้ค่ะ จะได้ไม่เสียใจกับเรื่องที่ไม่ควรพลาด


Fill in the blanks ในพาร์ท Listening เป็นอะไรที่ตรงตัวเหมือนกับชื่อ ได้ยินอะไรก็จับใส่ลงในช่องว่างให้ครบถ้วน โดย Task นี้วัดทั้งทักษะการฟังและการเขียน ข้อควรระวังกับ Fill in the blanks ในพารทนี้คือการเผลอใช้เวลามากเกินไป กับพิมพ์การผิดๆถูกๆ ทำให้พลาดคะแนนส่วนนั้นไป

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างแบบ VDO ที่น่าจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า Task นี้มีรูปแบบอย่างไรค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *